วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Best Practice โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี

      โครงการ/กิจกรรมดีเด่นของสถานศึกษา
                                        โดยดร.เฉลียว  ยาจันทร์

                1.  โครงการ/กิจกรรมดีเด่นสอดคล้องกับวิสัยทัศน์  นโยบาย  และเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  โครงการดีเด่นหรือ  Best Practice ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรีที่ดำเนินการจนบรรลุผลสำเร็จและการยอมรับชมเชยจากครู อาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน จนทำให้เกิดความภาคภูมิใจ ได้แก่
                   1)   การบริหารงานแบบ  TipCo
                   2)   โครงการธนาคารโรงเรียน
                   3)   โครงการการสร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานสำหรับเยาวชนในสถานศึกษา
                   4)    ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพ่อ แม่คนที่ 2
                   5)    การสอนโครงงานในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                   6)   วงโยธวาฑิต
                   7)   โครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ สานฝันสู่ OTOP
                   8)   โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
                   9)  โครงการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย
               2. การดำเนินการโครงการ / กิจกรรมใช้หลักการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยครู อาจารย์ นักเรียนและนักการภารโรงดังนี้
                1)   คณะกรรมการดำเนินงานธนาคารโรงเรียน
           2)   คณะกรรมการดำเนินงานโครงการสร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานสำหรับเยาวชนในสถานศึกษา
                3)   คณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
                4)   คณะกรรมการดำเนินงานการสอนโครงงานในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                5)   คณะกรรมการดำเนินงานวงโยธวาฑิต
                6)   คณะกรรมการดำเนินงานหนึ่งผลิตภัณฑ์ สานฝันสู่ OTOP
                7)   คณะกรรมการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
                8)   คณะกรรมการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพพลานามัย

Best Practices …….การบริหารงานแบบ TipCo       
     
ความเป็นมา
                  การบริหารงานแบบ TipCo เป็นการบริหารงานที่ได้นำแนวคิดและหลักการของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – based Management): SBM การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management) :TQM ระบบการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle ) : Q.C.C. และการพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบ (Whole School Approach) : WSA มาประยุกต์หลอมรวมเป็นการบริหารงานแบบ  TipCo

หลักการแนวคิด
                  การบริหารงานแบบ  TipCo  เป็นการบริหารงานในรูปขององค์คณะบุคคล  โดยบูรณาการนโยบายต้นสังกัด ภารกิจ  กิจกรรม  ความรับผิดชอบ  ทรัพยากร  บุคลากรและเทคโนโลยีนำมาหลอมรวมเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของโรงเรียน  เน้นการทำงานเป็นทีมและเน้นการเข้าใจ  ยอมรับและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน (Stakeholder)  ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน  และเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตร (Dynamic) มีเป้าหมายนักเรียนสำคัญที่สุด โดยมีหลักในการทำงานร่วมกันว่าร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมกันแก้ปัญหาและร่วมกันภาคภูมิใจ

ความคาดหวัง
ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าในการบริหารงานในสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จนั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนทุกฝ่าย โดยการจะได้รับความร่วมมือจากบุคลากรเหล่านั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องมีสายสัมพันธ์อันดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในแง่ของการบังคับบัญชาและในแง่ของการเป็นผู้ร่วมงานที่ดีในองค์กร ที่จะต้องมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์  โดยผู้บริหารที่จะสามารถทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความรัก ความเคารพได้อย่างเต็มใจและจริงใจนั้น ผู้บริหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปกครององค์กรอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม โดยยึดหลักแห่งความยุติธรรมอันจะก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ โดยข้าพเจ้าเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความคิดเป็นอิสระและได้ใช้วิธีการบริหารงานแบบ TOP ซึ่งเป็นการบริหารงานที่มุ่งให้ความสำคัญกับบุคลากรในโรงเรียนและเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร โดยมีแนวคิดที่ว่าบุคลากรในองค์กรทุกคนมีความสำคัญและสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี

 องค์ประกอบของการบริหารงานแบบ  TipCo
              T ย่อมาจากคำว่า Teamwork หมายถึง การทำงานเป็นทีมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน 
                  I   ย่อมาจากคำว่า   Integration   แปลว่า   การบูรณาการ ซึ่งหมายถึง การบูรณาการนโยบายต้นสังกัด   ภารกิจ   กิจกรรม     ความรับผิดชอบ ทรัพยากร บุคลากรและเทคโนโลยีนำมาหลอมรวมเป็นนโยบายและแนวคิดในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจัดการของโรงเรียนให้ได้มากที่สุด
              P ย่อมาจากคำว่า Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมทุกขั้นตอนการดำเนินงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน (Stakeholder)
              Co ย่อมาจากคำว่า Continuous Improvement   แปลว่าการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหมายถึง มีการดำเนินงานในทุกกิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเป็น พลวัตร (Dynamic) โดยใช้วงจรเดมมิ่ง
(Deming Cycle)  เป็นขั้นตอนในการปฏิบัติงานได้แก่  การวางแผน  การปฏิบัติ  การประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไข  ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในด้านต่าง ๆ  ของโรงเรียน

ความสำเร็จที่เกิดจากการบริหารงานแบบ  TipCo
                                    การบริหารงานแบบ TipCo  เป็นนวัตกรรมการบริหารที่ผู้เขียนได้คิดขึ้นมาในปี พ.. 2542  และได้นำมาใช้ครั้งแรกที่โรงเรียนโรงเรียนวัดพระเงิน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต  2  ด้วยความโดดเด่นของการบริหารงานแบบ  TipCo  ซึ่งเป็นการบริหารงานในรูปขององค์คณะบุคคล จึงทำให้
การบริหารงานในโรงเรียนวัดพระเงิน  ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ระยะเวลา  5   ปี  เดือน  โรงเรียน  ผู้บริหาร   ครูและนักเรียนโรงเรียนวัดพระเงินได้รับรางวัลทั้งหมด   205   รางวัล  จำแนกเป็นโรงเรียนได้รับรางวัล  31  รางวัล  ผู้บริหารได้รับรางวัล  10  รางวัล  ครูได้รับรางวัล  35  รางวัลและนักเรียนได้รับรางวัล 129 รางวัล   และที่นำมาซึ่งความภาคภูมิใจ  ความปลื้มปิติยินดีอย่างหาที่เปรียบมิได้ก็คือ  โรงเรียนวัดพระเงิน ได้รับรางวัล  โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษาประจำปีการศึกษา  2545   ซึ่งทำให้โรงเรียนวัดพระเงินมีชื่อเสียงในวงการศึกษามีผู้มาศึกษาดูงานทั้งหมด  102  คณะ นอกจากนั้นการบริหารงานแบบ TipCo  ยังได้รับรางวัลนวัตกรรมการบริหารงานดีเยี่ยม  อับดับ  จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน      
                  ตุลาคม  2550  ผู้เขียนได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนราษฎร์นิยม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต และได้นำการบริหารงานแบบ  TipCo   มาบริหารงานต่อที่โรงเรียนราษฎร์นิยม  ระยะเวลา  ปี  เดือน  ทำให้โรงเรียน   ผู้บริหาร   ครูและนักเรียนโรงเรียนวัดพระเงินได้รับรางวัลทั้งหมด   85   รางวัล
                  ตุลาคม  2552  เขียนได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต และได้นำการบริหารงานแบบ TipCo   มาบริหารงานต่อที่โรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่  ระยะเวลา  ปี  เดือน ทำให้โรงเรียน  ผู้บริหาร   ครูและนักเรียนโรงเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่  ได้รับรางวัลทั้งหมด   45   รางวัล  นอกจากนั้นโรงเรียนสตรีนนทบุรี บางใหญ่  ยังได้รับรองเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน และได้รับรางวัลสถานศึกษาพอเพียง ในปี   พ.. 2553
                  มิถุนายน  2553  ผู้เขียนได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  นนทบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต และได้นำการบริหารงานแบบ TipCo   มาบริหารงานต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  นนทบุรี   ระยะเวลา  ปี  เดือน  ทำให้โรงเรียน  ผู้บริหาร   ครูและนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  นนทบุรี  ได้รับรางวัลทั้งหมด    6   รางวัล  นอกจากนั้นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  นนทบุรี ได้กำลังพัฒนาโรงเรียนสู่ต้นแบบโรงเรียนในฝัน  และสถานศึกษาพอเพียง  
Best Practices ……………โครงการพ่อแม่คนที่ 2   (ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน)     
                    
ความเป็นมา



                  การที่จะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จ นอกจากการให้การศึกษาแล้วการป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาด้านต่างๆของนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีผลกระทบโดยตรงแก่นักเรียน ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาทางเพศ ปัญหาครอบครัว ฯลฯ ล้วนก่อให้เกิดความวิตกกังวล ความเครียด และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน ดังนั้น นักเรียนจึงต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ต้องการคำแนะนำปรึกษาอย่างมีเทคนิควิธีใช้ ต้องการความรักความเข้าใจ ต้องการการดูแลช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากครู ซึ่งเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่แทนพ่อแม่และผู้ปกครอง เมื่อนักเรียนอยู่ที่โรงเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี เริ่มโครงการนี้ตั้งแต่ ปี 2544 และได้รับรางวัลโรงเรียนที่จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่นระดับเขตตรวจราชการปีการศึกษา 2546
 
วัตถุประสงค์
                               เพื่อดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคลแก่นักเรียนของโรงเรียน ตามสภาพจริงอย่างเป็นระบบ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.      รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2.      การคัดกรองนักเรียน
3.      การส่งเสริมการสนับสนุน
4.      การปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรม
5.     
การส่งต่อ

ความภาคภูมิใจ           
นอกเหนือจากรางวัลโรงเรียนดีเด่นในการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับเขตตรวจราชการ การได้นำเสนอโครงการพ่อ แม่คนที่ 2 ทาง ททบ. 5 และได้รับความไว้วางใจจาก สพท. นนทบุรี เขต 2      ให้เป็นโรงเรียนแนะนำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน    แล้วสิ่งที่น่าภูมิใจที่สุด   คือ ความสำเร็จของนักเรียนในการเข้าศึกษาต่อในระดับต่างๆ และสามารถจบหลักสูตรช่วงชั้นที่ 3 และที่ 4 ตามกำหนด นักเรียนรักและภาคภูมิใจในโรงเรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น